เมล็ดเจีย (Chia Seeds)

Chia Seed


Image result for ต้นเมล็ดเจีย

🔺เมล็ดเจีย🔺

เมล็ดเจีย (Chia Seeds) เป็นเมล็ดธัญพืชชนิดหนึ่งที่มีขนาดเล็กคล้ายเม็ดแมงลัก ลักษณะเป็นรูปไข่ มีสีหลากหลาย เช่น สีขาว สีดำ บางครั้งมีลายเป็นจุดสีน้ำตาล น้ำตาลเข้ม สีครีม ดำ และขาว สามารถรับประทานได้โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการแปรรูป และด้วยรสชาติอ่อน ๆ คล้ายถั่ว เข้ากับอาหารและเครื่องดื่มต่าง ๆ ง่าย จึงนิยมนำมาโรยบนเมนูต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย 

ชื่อสามัญ : Chia Seeds 
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Salvia Hispanica L.
ชื่อวงศ์ : Lamiaceae
ชื่ออื่นๆ : เชีย, ชีอา, ชิอา


🔼ลักษณะของเมล็ดเจีย🔼


เจีย เป็นพืชในตระกูลเดียวกันกับต้นกะเพรา หรือมิ้นต์ มีขนาดของลำต้นสูงประมาณ 4-6 ฟุต เจริญเติบโตได้ดีในสภาพอากาศที่หนาวเย็น มีเมล็ดเรียวยาวสีน้ำตาลอมเทาคล้ายเม็ดแมงลักมาก แต่เม็ดแมงลักจะมีสีดำเข้มและขนาดเล็กกว่า หากนำมาแช่น้ำเมล็ดเจียจะพองตัวเป็นเมือกใสๆ ส่วนเม็ดแมงลักจะเป็นเมือกสีขาวขุ่น เจียจะเจริญเติบโตได้ดีในดินเหนียวปนทรายที่มีความอุดมสมบูรณ์ สามารถระบายน้ำได้ดี หรือในพื้นที่ที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 800-2,200 เมตร ไม่ชอบน้ำท่วมขัง ทนทานต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี ในดินที่เป็นกรดและแห้งจะเจริญได้ปานกลาง                ฤดูที่เหมาะสมในการเพาะปลูกควรอยู่ในช่วงฤดูแล้งประมาณเดือนพฤษภาคม หากปลูกในช่วงฤดูฝนอาจทำให้เมล็ดพองตัวจนเกิดความเสียหายได้ หลังจากปลูกไปประมาณ 4 เดือน สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงเดือนกันยายน

🔼ประโยชน์เมล็ดเจีย🔼

1-chia-seeds
  • บำรุงหัวใจ
  • บำรุงสมองเสริมความจำ
  • ป้องกันเบาหวาน
  • บำรุงการนอนหลับ
  • ซ่อมแซมเซลล์และชะลอวัย
  • ป้องกันโรคกระดูกพรุน บำรุงกระดูกและฟัน
  • บำรุงระบบย่อยและดูดซึมอาหาร ป้องกันอาการท้องผูก
  • ป้องกันการติดเชื้อ และช่วยให้แผลหายไวขึ้น
  • เติมเต็มสารอาหารพื้นฐานหลายชนิด เป็นแหล่งพลังงาน
  • บำรุงสุขภาพจิตช่วยให้อารมณ์ดี
  • ป้องกันผิวแห้ง
  • ลดรอยเหี่ยวย่นรอยตีนกา ชะลอวัยให้กับเซลล์ผิว
  • ลดปัญหาสิว
  • บำรุงเส้นผม
  • ช่วยให้อิ่มเร็ว
  • แคลอรี่น้อย แต่อุดมไปด้วยสารอาหารพื้นฐานที่จำเป็นต่อร่างกาย

🔼ข้อควรระวัง🔼

  • ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบกระเพาะอาหารและลำไส้ เช่น มีแก๊สในกระเพาะอาหาร แสบร้อนกลางอก รวมถึงกรดไหลย้อน จะมีผลกระทบได้ เพราะเส้นใยไฟเบอร์ที่ขยายตัวในกระเพาะอาหาร จะกระตุ้นให้ตับอ่อนเร่งสร้างน้ำย่อยออกมานั่นเอง 
  • ผู้ที่ต้องเข้ารับการศัลยกรรม หรือมีประวัติการใช้ยาแอสไพริน ยังไม่ควรทานเมล็ดเจีย เพราะอาจเกิดภาวะที่เลือดแข็งตัวช้ากว่าปกติ
  • ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตต่ำ เพราะมีผลต่อแรงดันเลือดขณะที่หัวใจคลายตัวต่ำลง (Diastolic blood pressure)
  • หญิงตั้งครรภ์ หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตรไม่ควรบริโภคเมล็ดเจีย เพราะมีผลต่อสารอาหารในน้ำนม
  • การรับประทานเมล็ดเจียร่วมกับอาหารเสริมวิตามินบี 17 ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานมากๆ จะทำให้ร่างกายสะสมสารไฟโตนิวเทรียนท์ในปริมาณมากเกินกว่าความต้องการของร่างกาย

ขอบคุณข้อมูลจาก 

https://www.pobpad.com/%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%A2-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD
https://sistacafe.com/summaries/747-%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%9C%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%AD
http://www.vichakaset.com/%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%A2/
http://www.theseedsthai.com/%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%A2-22969.page

ความคิดเห็น